วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ สมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

  •  ประวัติสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ สมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

         สมาคมทั้งสอง เริ่มมาจากความร่วมมือของสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ที่ได้เริ่มจับมือกันในเดือนมกราคม ปี 2541 ซึ่งก็คือ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ และ วิทยาเขตปัตตานี สถานี วิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยขอนแก่น สถานี วิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเชิงวิชาการ และความร่วมมือในด้านต่างๆ โดยมี รศ. จุมพล รอดคำดี เป็นนายกสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ ผศ.ปนัดดา ธนสถิตย์ เป็นนายกสมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจาย- เสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา รุ่นแรก โดยมีจุดประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมทั้งสองสมาคม ดังนี้

  • จุดประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา

    1. ส่งเสริมความรู้ในการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวกับการผลิตรายการและข่าวเพื่อการศึกษา

    2. สนับสนุนให้มีผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

    3. ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ในสายวิชาชีพการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ให้มีความรู้ ความสามารถ ในด้านการบริหาร
        และการจัดการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

    4. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักบริหารสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

    5. ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในหมู่สมาชิกสมาคม

    6. ส่งเสริมให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคข่าวสารรายการด้านการศึกษา

    7. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

  • จุดประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

    1. เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น ประสบการณ์ของผู้สื่อข่าวกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และเผยแพร่ข่าวสาร
        ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมา

    2. ส่งเสริมให้มีการผลิตรายการประเภทข่าวเพื่อการศึกษา ให้ได้มาตรฐานและกอรปด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพยังประโยชน์ทางการศึกษา ทั้ง
        แก่ผู้ศึกษาที่อยู่ในระบบโรงเรียน / วิทยาลัย / มหาวิทยาลัย / กับผู้ที่อยู่นอกระบบ

    3. ส่งเสริมให้มีการส่งกระจายเสียง และแพร่ภาพรายการประเภทข่าวเพื่อการศึกษาทั้งในระดับชุมชน และระดับชาติ

    4. ส่งเสริมให้มีการศึกษาอบรมแก่บุคลากรที่อยู่ในสายวิชาชีพ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มความรู้ และความ-
        สามารถ สำหรับที่จะผลิตรายการประเภทข่าว เพื่อการศึกษา ให้มีคุณภาพ มาตรฐานและอำนวยประโยชน์แก่ผู้ฟังและผู้ชมรายการสืบไป

    5. ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในหมู่สมาชิก และรวมตัวกันในด้านสวัสดิการ

    6. ส่งเสริมให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคในหมู่สมาชิก

    7. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

  • กิจกรรมของสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ สมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

         สำหรับกิจกรรมของสมาคมทั้งสอง ที่ได้ทำร่วมกันตลอดมามีหลากหลายกิจกรรมเช่น การร่วมการผลิตรายการ จัดรายการ และ ออก- อากาศรายการเครือข่ายสายตรงวิทยุสถาบัน ซึ่งเป็นรายการข่าวสารการศึกษา โดยเริ่มแรกนั้น รศ.จุมพล รอดคำดี กรรมการผู้อำนวยการ สถานีวิทยุจุฬาฯ ได้ริเริ่มและนำเสนอแนวคิดนี้ พร้อมทั้งเชิญชวนผู้บริหารสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาจากส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค มาร่วม ประชุมระดมความคิด และ หาแนวทางในการจัดทำโครงการมาตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2540 ต่อมาได้มีการเริ่มทดลองออกอากาศสดพร้อมกัน ระหว่างสถานีวิทยุจุฬาฯ และ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2540 และ เริ่มออกอากาศจริงทุกวันจันทร์-ศุกร์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2541 จากนั้นมีการพัฒนารายการต่อเนื่องกันเรื่อยมา

         ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 สถานีวิทยุจุฬาฯ ได้รับความร่วมมือในการผลิตรายการ และ ออกอากาศสด พร้อมกันกับสถานีวิทยุ จุฬาฯมากขึ้น ในช่วงเวลาเที่ยงถึงบ่ายโมง ทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ โดยมีสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาที่ร่วมกันผลิตรายการ คือ สถานีวิทยุแห่ง- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยขอนแก่น สถานีวิทยุกระจายเสียงมหา- วิทยาลัยนเรศวร สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหา- วิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีสถานีวิทยุเป็นของตนเอง แต่ก็ได้ให้ความร่วมมือในการร่วมผลิตรายการใน ด้านการรายงานข่าวโดยอาจารย์ และ นิสิตจากมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นอย่างดี ส่วนการออกอากาศสด และ การดำเนินร่วมกันทุกวันจันทร์-ศุกร์ ก็คือ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และ วิทยาเขตปัตตานี สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยขอนแก่น สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร และสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกอากาศทุกวันศุกร์

         นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสัมมนาและการอบรมอีกหลายครั้ง เช่น การสัมมนาและอบรมในเรื่องของการผลิต และการดำเนินรายการข่าวที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การประชุมหมุนเวียนประจำปีของสมาคมทุกๆ 6 เดือน ที่จะไปประชุมที่มหาวิทยาลัย ต่างๆในหมู่มวลสมาชิก เช่น ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ และ วิทยาเขตปัตตานี เป็นต้น รวมทั้งการประชุมสัมมนากับสำนักข่าวต่างประเทศ เช่น การอบรมเรื่อง การผลิตรายการวิทยุเพื่อสตรี ของสำนักข่าว Deutsche Welle เยอรมนี รวมทั้งมีการเดินทางไปดูงานในสำนักข่าวต่างประเทศต่างๆ เช่น ที่สถานีวิทยุ CRI ปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นต้น

         นอกจากนี้ ทั้งสองสมาคมยังมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านเทคนิคระหว่างสถานีต่างๆที่เป็นสมาชิกอีกด้วย โดยขณะนี้ รศ.จุมพล รอด คำดี เป็นนายกสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ คุณดาริน กำเนิดรัตน์ เป็นนายกสมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์เพื่อการศึกษา

  • เป้าหมายของสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ สมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

    1. จะมีการจับมือกันทำงานในรูปแบบเครือข่ายมากขึ้น เช่น การแลกเปลี่ยนรายการ หรือ ทำรายการต่างๆร่วมกัน พร้อมกัน

    2. สนับสนุนกันและกันในด้านเทคนิค ให้ความรู้ในการจัดรายการต่างๆ และทำกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างสถาบัน รวมทั้งมีการ
        พัฒนาสถานีต่างๆไปด้วยกัน โดยหวังว่าจะสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีที่สูงขึ้น

    3. มีการดูแลสมาชิกให้ได้รับประโยชน์ หรือ ความรู้ที่ทันสมัยขึ้น

    4. ติดตามการพัฒนา หรือการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย หรือระเบียบต่างๆที่มีผลกระทบต่อการคงอยู่ของสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาในหมู่-
        สมาชิก เพื่อเดินหน้าสู่ก้าวต่อไปร่วมกัน


 http://www.curadio.chula.ac.th/thaiuradio/index.asp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น