วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กสทช.สั่งสอบ '3 จีทรู-กสท' เน้นประเด็นพรบ.ร่วมทุนฯ

ไอที-นวัตกรรม

วันที่ 13 พฤษภาคม 2554 10:25

กสทช.สั่งสอบ '3 จีทรู-กสท' เน้นประเด็นพรบ.ร่วมทุนฯ

บอร์ดมีมติให้สำนักงาน กสทช. จัดทำเอกสารสรุปสัญญา กสท-ทรู ผิดมาตรา 46 ตามพ.ร.บ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯหรืิอไม่ พร้อมวาง3ขั้นตอน

บอร์ดมีมติให้สำนักงาน กสทช. จัดทำเอกสารสรุปสัญญา กสท-ทรู ผิดมาตรา 46 ตามพ.ร.บ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯหรืิอไม่ พร้อมวาง 3 ขั้นตอน

บอร์ดมีมติให้สำนักงาน กสทช. จัดทำเอกสารสรุปสัญญา กสท-ทรู ผิดมาตรา 46 ตามพ.ร.บ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯหรืิอไม่ 

พร้อมวาง  3 ขั้นตอน

เผยต้องดูเรื่อง พ.ร.บ.ร่วมทุน เป็นหลัก หากสรุปว่าผิด ไม่ต้องดูประเด็นอื่น เผยบอร์ดไม่กล้าฟันธงสัญญา หวั่นมีผลผูกพันในอนาคต ซ้ำนักกฎหมายกทช.ไม่เคยอยู่ร่วมประชุม

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวานนี้ (12 พ.ค.) มีมติให้สำนักงาน กทช.ไปสรุปรายละเอียดในสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือเอชเอสพีเอระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ว่าขัดต่อมาตรา 46 ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่ระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัวต้องประกอบกิจการด้วยตัวเอง จะโอนหรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนไม่ได้

หากสำนักงาน กทช. มีข้อสรุปออกมาว่า ไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว ก็จะมาพิจารณาในขั้นที่ 2 คือ การให้บริการของบริษัท เรียลมูฟ ที่ได้รับสิทธิในการทำตลาดบริการขายส่งบริการ (โฮลเซล-รีเทล) เรียลมูฟถือเป็นเอ็มวีเอ็นโอให้ กสท ในระดับใด เพราะที่ประชุมบอร์ด มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาหารือ โดยระบุว่าหากเป็นเอ็มวีเอ็นโอระบบต่ำ (Thin MVNO) ก็สามารถดำเนินการได้ แต่หากเป็นระบบกลาง (Medium MVNO) หรือระบบสูง (Full MVNO) อาจต้องมีการตีความจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า ดำเนินการได้หรือไม่ และหากสมมติว่าการ

กรณีสัญญา กสท และ กลุ่มทรู ที่ถกเถียงว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ในเบื้องต้นต้องพิจารณาในแง่ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หากศาลปกครอง หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ป.ป.ช.) มีคำสั่งหรือลงความเห็นว่าสัญญาฉบับดังกล่าวจำเป็นต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน ก็ถือว่าผิดแล้วไม่จำเป็นต้องดูในประเด็นอื่น

"การประชุมวันนี้ ก็เถียงกันพอสมควร ว่าจะเอาอย่างไรกับสัญญา กสท และทรู ซึ่ง กทช.ไม่ได้นิ่งนอนใจ เรามีความเห็นอะไรออกมาบ้าง แต่ก็ต้องดูในประเด็นกฎหมายอื่นๆ ควบคู่กันไป ซึ่งกรณีนี้ประเด็นที่สำคัญที่พิจารณามีเพียงว่า สัญญาดังกล่าวเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน หรือไม่ แต่ในส่วนนี้เราไม่ได้มีสิทธิออกความเห็น"

แหล่งข่าวจาก กทช. กล่าวว่า แม้ที่ประชุมบอร์ดวานนี้ จะมีบรรจุวาระเรื่องการทำสัญญาให้บริการโทรศัพท์มือถือเอชเอสพีเอ ระหว่าง กสท และกลุ่มทรู แต่เรื่องดังกล่าว ยังไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เนื่องจากบอร์ด กทช.รอดูท่าทีของศาลปกครองกลางก่อน ว่า ในวันที่ 18 พ.ค. นี้ คำสั่งของศาลฯ จะออกมาในลักษณะใด จะมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน หรือกำหนดการบรรเทาทุกข์ให้กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หรือไม่ หลังจากที่ดีแทคได้ยื่นฟ้อง กสท และพวก ในกรณีการเซ็นสัญญากับกลุ่มทรูไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในคดีหมายเลขดำที่ 871/2554

อย่างไรก็ตาม พ.อ.นที ย้ำว่า กทช. ไม่ต้องการมีบทบาท หรือมีมติทางกฎหมายใดๆ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เพราะจะถือเป็นผลผูกพัน และในอนาคตก็จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ กสทช. อย่างเต็มรูปแบบ และปัจจัยที่สำคัญ คือ ประเด็นที่มีหยิบยกในกรณีสัญญา กสท กับกลุ่มทรู ว่าอาจขัดต่อกฎหมาย ล้วนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.กสทช. แต่เป็นประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ร่วมทุน นอกจากนี้ กทช.ก็ไม่เคยได้รับการติดต่อจากหน่วยงานที่ตรวจสอบสัญญา เพื่อประสานให้ กทช. ไปให้ข้อมูลเลย

"สำนักงาน กทช. ก็ได้หารือและรวบรวมรายละเอียดสัญญาทั้ง 6 ฉบับของ กสท และ ทรู มาตลอด แต่ก็ยังไม่เสร็จ หรือจริงๆ อาจจะเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเรื่องนี้ไม่มีบอร์ดคนใดอยากจะฟันธงว่าสัญญาผิดหรือถูก และนายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ กทช. ที่รับผิดชอบด้านกฎหมายโดยตรงก็ไม่อยู่ไปต่างประเทศ"

http://goo.gl/iw4N2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น