วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

: บทความดีค่ะ



จาก: somboon srikomdokcare <wept_somboon@hotmail.com>
วันที่: 18 กันยายน 2554, 20:38
หัวเรื่อง: บทความดีค่ะ
ถึง: 

ลูก จงจำไว้ว่า .....
การไม่ต่อสู้ใน บางกรณี
กลับเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าการต่อสู้
อย่างเอาเป็นเอาตาย

ลูกจงอย่าโกรธคนไม่ดี
ที่จริงเขาก็อยากดีเหมือนกัน
แต่เขาไม่เข้าใจว่า
อะไรเป็นความดี ... อะไรคือไม่ดี

ลูกพ่อต้องเป็นคนแข็งแรง ... ไม่แข็งกระด้าง
ลูกพ่อต้องเป็นคนเรียบง่าย ... ไม่มักง่าย
ลูกพ่อต้องเป็นคนอ่อนโยน ... ไม่อ่อนแอ

ลูกจงโอนอ่อนผ่อนตาม
อย่างฉลาดและสุขุม
การพ่ายแพ้ด้วยศิลปะ
ดีกว่าการชนะด้วยอารมณ์

ความกล้าหาญต้องประกอบด้วยสติปัญญา
ถ้าลูกกล้าโดยไม่มีสติปัญญา
เขาเรียกว่าคนบ้าบิ่น

ปลายทางสุดท้ายของความไม่พอ
คือ ... ความทุกข์

ลูกจงจำไว้ว่า ...
ผูท ี่ไม่มีใครให้อภัยผู้อื่น
คือผู้อ่อนแอทางจิตใจ
การให้อภัยศัตรู คือการสร้างมิตร

ลูกควรจำสิ่งที่ควรจำ ลืมสิ่งที่ควรลืม
ทำสิ่งที่ควรทำ และต้องรู้ว่าสิ่งใดควรทำก่อน
สิ่งใดควรทำทีหลัง

เมื่อลูกสังเกตดู จะพบว่า
ภายหลังเสียงหัวเราะ จะมีน้ำตา
ภายหลังเสียน้ำตา จะเห็นแสงธรรม
คือความจริงของชีวิต
หกล้มเราเพราะก้าวเดินไปข้างหน้า
ยังดีกว่าลูกยืนเต๊ะท่าอยู่กับที่
เพราะถ้าลูกยืนไม่ดี ... ก็จักมีคนมาถีบให้ล้มอยู่ดี

ลูกจงหาความสุขกับปัจจุบัน
อย่าใฝ่ฝันถึงอนาคต
อย่างหมกมุ่นอยู่กับอดีต
จะทุกข์

ลืมอะไรก็ลืมได้ แต่อย่าลืมตัว
เสียอะไรก็เสียได้ แต่อย่าเสียคน
ผิดอะไรก็ผิดได้ แต่อย่าผิดศีลธรรม

ลูกจงจำไว่ว่า ...
ธรรมชาติไม่เคยให้อภัยใคร

ใครทำอย่างใด ต้องได้รับอย่างนั้น
แต่ธรรมชาติก็ให้โอกาสทุกคนเสมอ
แต่คนเรา ... โดยส่วนมาก
ไม่ค่อยยอมรับโอกาสนั้น

ลูกจงจำไว้ว่า
คนเห็นแก่เงิน คบยาก
คนเห็นแก่งาน คบยาก
คนเห็นแก่ผู้อื่น คบสบาย

ผู้กล้าหาญ คือผู้ที่สามารถบังคับตัวเองได้
ถ้าลูกจักปลูกต้นไม้ ต้องบำรุงราก
แต่ถ้าปลูกจิตใจ
ต้องบำรุงด้วยศีลด้วยธรรม

การโกรธ เป็นวิสัยของปุถุชน
การให้อภัย เป็นวิสัยของบัณฑิต
ลูกพ่อจะเป็นบัณฑิต จึงต้องฝึกการให้อภัย
ด้วยความมีเมตตา
เพราะเมตตาแก้ความโกรธได้  

หน้าที่ของลูกควรปฏิบัติต่อผู้อื่น คือ
การมอบน้ำใจให้แก่กันและกัน

ลูกควรมองคนในแง่ดี  
ให้มองว่าไม่มีใครจะเลวทั้งหมด
คนเราเป็นมิตรกันได้
แม้จะมีความคิดต่างกัน

เรือที่ออกทะเล
ปฏิเสธคลื่นลมไม่ได้ ฉันใด
ชีวิตของลูก
ปฏิเสธอุปสรรคไม่ได้ ฉันนั้น

บางส่วนจากเจ้าของบทความ :
จากหนังสือ ๖ ๐ ข้อคิดบันทึกไว้จากใจพ่อ

อิกคิว ผู้คัดลอก


ความดีของลูก คือความสุขของพ่อ แม่
ความเลวของลูก คือความทุกข์ของพ่อแม่

    ฉัน พูดกับพุทธองค์ว่า
ฉันพูดกับพุทธองค์ว่า : ขอให้เพื่อนของฉันทุกคนมีความสุข สุขภาพดี ตลอดไป
พุทธองค์ตอบว่า : ขอได้เพียง 4 วันเท่านั้น
ฉันตอบว่า : ได้ ถ้างั้นขอวันฤดูใบไม้ผลิ วันฤดูร้อน วันฤดูใบไม้ร่วง วันฤดูหนาว
พุทธองค์ตอบว่า : 3 วัน
ฉันตอบว่า : ได้ เมื่อวาน วันนี้ วันพรุ่งนี้
พุทธองค์ตอบว่า : ไม่ ได้ ให้ได้แค่ 2 วัน
ฉันตอบว่า : ได้ งั้นเป็นกลางวัน และ กลางคืน
พุทธองค์ตอบว่า : ไม่ได้มากไป ให้ได้วันเดียว  
ฉันตอบว่า : อ๋อ ได้  
พุทธองค์ถามว่า : วันไหนล่ะ  
ฉันตอบว่า : ขอเป็นวันที่เพื่อนๆของฉันยังมีชีวิตอยู่
พุทธองค์หัวเราะ แล้วพูดว่า : นับแต่นี้ไปเพื่อนๆของเธอจะมีความสุข มี สุขภาพแข็งแรงทุกๆวัน

คนที่ได้เมล์ฉบับนี้แล้วส่งต่อให้เพื่อน , ขออวยพรให้เพื่อนๆ ของคุณทุกคนมีความสุข สุขภาพดี
อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ดูแลตัวเองด้วย (อย่าลืมส่งความอบอุ่นไปด้วยล่ะ)

ปล. พุทธองค์พูดว่าเพื่อนที่ดีไม่ควรขาดการติดต่อ

 

 


 



 

 




วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ สมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

  •  ประวัติสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ สมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

         สมาคมทั้งสอง เริ่มมาจากความร่วมมือของสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ที่ได้เริ่มจับมือกันในเดือนมกราคม ปี 2541 ซึ่งก็คือ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ และ วิทยาเขตปัตตานี สถานี วิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยขอนแก่น สถานี วิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเชิงวิชาการ และความร่วมมือในด้านต่างๆ โดยมี รศ. จุมพล รอดคำดี เป็นนายกสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ ผศ.ปนัดดา ธนสถิตย์ เป็นนายกสมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจาย- เสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา รุ่นแรก โดยมีจุดประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมทั้งสองสมาคม ดังนี้

  • จุดประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา

    1. ส่งเสริมความรู้ในการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวกับการผลิตรายการและข่าวเพื่อการศึกษา

    2. สนับสนุนให้มีผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

    3. ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ในสายวิชาชีพการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ให้มีความรู้ ความสามารถ ในด้านการบริหาร
        และการจัดการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

    4. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักบริหารสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

    5. ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในหมู่สมาชิกสมาคม

    6. ส่งเสริมให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคข่าวสารรายการด้านการศึกษา

    7. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

  • จุดประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

    1. เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น ประสบการณ์ของผู้สื่อข่าวกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และเผยแพร่ข่าวสาร
        ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมา

    2. ส่งเสริมให้มีการผลิตรายการประเภทข่าวเพื่อการศึกษา ให้ได้มาตรฐานและกอรปด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพยังประโยชน์ทางการศึกษา ทั้ง
        แก่ผู้ศึกษาที่อยู่ในระบบโรงเรียน / วิทยาลัย / มหาวิทยาลัย / กับผู้ที่อยู่นอกระบบ

    3. ส่งเสริมให้มีการส่งกระจายเสียง และแพร่ภาพรายการประเภทข่าวเพื่อการศึกษาทั้งในระดับชุมชน และระดับชาติ

    4. ส่งเสริมให้มีการศึกษาอบรมแก่บุคลากรที่อยู่ในสายวิชาชีพ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มความรู้ และความ-
        สามารถ สำหรับที่จะผลิตรายการประเภทข่าว เพื่อการศึกษา ให้มีคุณภาพ มาตรฐานและอำนวยประโยชน์แก่ผู้ฟังและผู้ชมรายการสืบไป

    5. ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในหมู่สมาชิก และรวมตัวกันในด้านสวัสดิการ

    6. ส่งเสริมให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคในหมู่สมาชิก

    7. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

  • กิจกรรมของสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ สมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

         สำหรับกิจกรรมของสมาคมทั้งสอง ที่ได้ทำร่วมกันตลอดมามีหลากหลายกิจกรรมเช่น การร่วมการผลิตรายการ จัดรายการ และ ออก- อากาศรายการเครือข่ายสายตรงวิทยุสถาบัน ซึ่งเป็นรายการข่าวสารการศึกษา โดยเริ่มแรกนั้น รศ.จุมพล รอดคำดี กรรมการผู้อำนวยการ สถานีวิทยุจุฬาฯ ได้ริเริ่มและนำเสนอแนวคิดนี้ พร้อมทั้งเชิญชวนผู้บริหารสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาจากส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค มาร่วม ประชุมระดมความคิด และ หาแนวทางในการจัดทำโครงการมาตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2540 ต่อมาได้มีการเริ่มทดลองออกอากาศสดพร้อมกัน ระหว่างสถานีวิทยุจุฬาฯ และ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2540 และ เริ่มออกอากาศจริงทุกวันจันทร์-ศุกร์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2541 จากนั้นมีการพัฒนารายการต่อเนื่องกันเรื่อยมา

         ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 สถานีวิทยุจุฬาฯ ได้รับความร่วมมือในการผลิตรายการ และ ออกอากาศสด พร้อมกันกับสถานีวิทยุ จุฬาฯมากขึ้น ในช่วงเวลาเที่ยงถึงบ่ายโมง ทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ โดยมีสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาที่ร่วมกันผลิตรายการ คือ สถานีวิทยุแห่ง- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยขอนแก่น สถานีวิทยุกระจายเสียงมหา- วิทยาลัยนเรศวร สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหา- วิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีสถานีวิทยุเป็นของตนเอง แต่ก็ได้ให้ความร่วมมือในการร่วมผลิตรายการใน ด้านการรายงานข่าวโดยอาจารย์ และ นิสิตจากมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นอย่างดี ส่วนการออกอากาศสด และ การดำเนินร่วมกันทุกวันจันทร์-ศุกร์ ก็คือ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และ วิทยาเขตปัตตานี สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยขอนแก่น สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร และสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกอากาศทุกวันศุกร์

         นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสัมมนาและการอบรมอีกหลายครั้ง เช่น การสัมมนาและอบรมในเรื่องของการผลิต และการดำเนินรายการข่าวที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การประชุมหมุนเวียนประจำปีของสมาคมทุกๆ 6 เดือน ที่จะไปประชุมที่มหาวิทยาลัย ต่างๆในหมู่มวลสมาชิก เช่น ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ และ วิทยาเขตปัตตานี เป็นต้น รวมทั้งการประชุมสัมมนากับสำนักข่าวต่างประเทศ เช่น การอบรมเรื่อง การผลิตรายการวิทยุเพื่อสตรี ของสำนักข่าว Deutsche Welle เยอรมนี รวมทั้งมีการเดินทางไปดูงานในสำนักข่าวต่างประเทศต่างๆ เช่น ที่สถานีวิทยุ CRI ปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นต้น

         นอกจากนี้ ทั้งสองสมาคมยังมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านเทคนิคระหว่างสถานีต่างๆที่เป็นสมาชิกอีกด้วย โดยขณะนี้ รศ.จุมพล รอด คำดี เป็นนายกสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ คุณดาริน กำเนิดรัตน์ เป็นนายกสมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์เพื่อการศึกษา

  • เป้าหมายของสมาคมนักบริหารวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา และ สมาคมผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

    1. จะมีการจับมือกันทำงานในรูปแบบเครือข่ายมากขึ้น เช่น การแลกเปลี่ยนรายการ หรือ ทำรายการต่างๆร่วมกัน พร้อมกัน

    2. สนับสนุนกันและกันในด้านเทคนิค ให้ความรู้ในการจัดรายการต่างๆ และทำกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างสถาบัน รวมทั้งมีการ
        พัฒนาสถานีต่างๆไปด้วยกัน โดยหวังว่าจะสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีที่สูงขึ้น

    3. มีการดูแลสมาชิกให้ได้รับประโยชน์ หรือ ความรู้ที่ทันสมัยขึ้น

    4. ติดตามการพัฒนา หรือการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย หรือระเบียบต่างๆที่มีผลกระทบต่อการคงอยู่ของสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาในหมู่-
        สมาชิก เพื่อเดินหน้าสู่ก้าวต่อไปร่วมกัน


 http://www.curadio.chula.ac.th/thaiuradio/index.asp

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตอบ ทรู คอร์ปอเรชั่น เรื่องสัญญา 3G ระหว่าง ทรู กับ กสท. โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

ตอบ ทรู คอร์ปอเรชั่น เรื่องสัญญา 3G ระหว่าง ทรู กับ กสท.

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 19:00:00 น.

Share72




โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 

ตามที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้นำเสนอ "ข้อเท็จจริง" ในมุมของตน และกล่าวหาว่า บทความของผู้เขียนได้พาดพิงถึงทรูอย่าง "คลาดเคลื่อนข้อเท็จจริง" และมีการ "คาดเดา" หลายเรื่องโดยไม่ถูกต้องนั้น     ผู้เขียนยินดีอย่างยิ่งที่จะได้เสนอ "ข้อเท็จจริง" ในมุมของผู้เขียนในฐานะนักวิชาการ ซึ่งไม่มีส่วนได้เสีย แต่ได้ติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด   ทั้งนี้ เพื่อให้สาธารณชนได้พิจารณาอย่างรอบด้านว่า "ข้อเท็จจริง" ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรกันแน่  

         

ก่อนอื่น  ผู้เขียนขอทบทวนสัญญา 3G ระหว่าง ทรู กับ กสท โดยสังเขป    สาระสำคัญส่วนใหญ่ของการทำสัญญาดังกล่าวอยู่ในสัญญา 2 ฉบับหลักคือ  "สัญญาเช่า" และ "สัญญาขายส่ง"       ในส่วนของสัญญาเช่านั้น กสท จะ "เช่า" อุปกรณ์โทรคมนาคมจาก ทรู   มาติดตั้งบนเสาที่ กสท จะสร้างขึ้น ซึ่งเป็นการเช่าทรัพย์สินกันตามปรกติ   อย่างไรก็ตาม สัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดที่เกินจากสัญญาเช่าทั่วไปโดยกำหนดว่า "กสท จะนำคลื่นความถี่ในย่าน 800 MHz จำนวน 15x2 MHz … มาใช้กับเครื่องและอุปกรณ์ของบริษัทเท่านั้น" (ข้อ 2.12)     ส่วนสัญญา "ขายส่ง" นั้น กสท จะนำเอาโครงข่ายทั้งหมด รวมทั้งอุปกรณ์ที่เช่าจากทรู มา "ขายส่ง" กลับให้ ทรู  โดย ทรู มีสิทธิใช้โครงข่ายดังกล่าว  80%    ซึ่งทำให้สัญญาขายส่งนี้มีผลบังคับผู้ขายเกินกว่าสัญญาขายส่งทั่วไปและกีดกันผู้ซื้อรายอื่น

 

ประเด็นที่ ทรู โต้แย้งผู้เขียนมี 3 ข้อ  คือ 

1. การทำสัญญา 3G ระหว่าง ทรู กับ กสท จะทำให้มีผู้ให้บริการ 3G รายเดียวนอกจาก ทีโอที คือ ทรู หรือไม่?   

2. การทำสัญญาดังกล่าวจะทำให้รัฐเสียค่าประมูลคลื่นความถี่มูลค่า 3.9 หมื่นล้านบาทหรือไม่?  และ 

3. สัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน ต้องทำตามกฎหมายร่วมทุนฯ หรือไม่? 

 

ในประเด็นแรกนั้น ผู้เขียนกล่าวไว้ว่า  หากปล่อยให้สัญญาดังกล่าวเกิดขึ้น "นอกเหนือจาก ทีโอทีแล้ว  ประเทศไทยจะมีผู้ให้บริการ 3G อีกเพียงรายเดียว คือ ทรู ซึ่งจะให้บริการ 3G ก่อนรายอื่น โดยไม่แน่ชัดว่า เอไอเอส และดีแทค ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญจะสามารถเริ่มให้บริการได้เมื่อใด"  ทั้งนี้ คำว่า "ผู้ให้บริการ" ดังกล่าวของผู้เขียนหมายถึงผู้ประกอบการที่มีโครงข่าย  เพราะการแข่งขันที่แท้จริงจะเกิดขึ้นจากผู้ประกอบการที่มีโครงข่ายหลายรายแข่งขันกันอย่างเสมอภาคเท่านั้น   ทรู  กล่าวว่า ผู้เขียนเข้าใจผิด เพราะในปัจจุบัน นอกจาก ทีโอที แล้ว ยังมีผู้ให้บริการขายส่ง (ซึ่งมีโครงข่าย) อีกรายหนึ่งคือ กสท  ส่วนผู้ให้บริการขายต่อ (ซึ่งไม่มีโครงข่าย) ก็มีอยู่แล้วหลายราย ทั้งนี้ กสทและทีโอทีต้องปฏิบัติต่อผู้ขายต่อทุกราย รวมทั้ง ดีแทคและเอไอเอสอย่างเสมอภาคกัน   

 

จะเห็นว่า ผู้เขียนและทรู เห็นตรงกันว่า หากนับเฉพาะผู้ประกอบการ 3G ที่มีโครงข่ายนั้น ในปัจจุบัน นอกจาก ทีโอทีแล้ว ก็เหลืออีกเพียงรายเดียว ซึ่งทรูระบุว่าคือ กสท แต่ผู้เขียนมองว่าคือ ทรู นั่นเอง เพราะทรูได้สิทธิในการใช้โครงข่ายของ กสท ไปถึง 80% จึงมีสภาพเสมือนเป็นผู้ประกอบการที่มีโครงข่ายแทน กสท (แม้จะใช้กลเม็ดทางกฎหมายขอใบอนุญาตแบบไม่มีโครงข่ายก็ตาม)   ในสภาพเช่นนี้ กสท ย่อมไม่สามารถปฏิบัติต่อรายอื่นได้อย่างเสมอภาคกับทรูได้ เพราะเหลือความจุอีกเพียง 20% เท่านั้น  นอกจากทีโอที แล้ว ตลาดจึงเหลือผู้ให้บริการ 3G ที่มีโครงข่ายเพียงรายเดียวคือ ทรู

 

นอกจากนั้น กสท ยังให้ทรูเริ่มให้บริการก่อนรายอื่น และไม่อนุญาตให้ ดีแทคให้บริการ 3G บนคลื่นที่ดีแทคใช้บริการ 2G อยู่      การกระทำดังกล่าวทั้งหมดทำให้ ทรู ได้เปรียบในการแข่งขันเป็นอย่างมาก  เพราะหากคู่แข่งต้องการได้คลื่นความถี่เพียงพอที่จะแข่งขันกับทรู ก็จะต้องรอการจัดสรรคลื่นจาก กสทช.     จึงไม่น่าแปลกใจที่รายงานของที่ปรึกษาการเงินของ กสท คือบริษัท BNC และ Value Partners เองก็ได้วิเคราะห์ว่า ทรู จะมีส่วนแบ่งตลาด 3G เพิ่มขึ้นถึง 5% จากการได้ทำการตลาดก่อนรายอื่น   

 

ในประเด็นที่สอง ทรู โต้แย้งว่าการทำสัญญาดังกล่าวจะไม่ทำให้รัฐเสียค่าประมูลคลื่นความถี่ 3.9 หมื่นล้านบาท  โดยอ้างว่า คลื่นความถี่ของ กสท เป็นคลื่นความถี่เดิม  และ กสท ไม่ได้นำคลื่นความถี่มาให้ ทรู ใช้ เพียงแต่ขายต่อบริการให้ทรู     ผู้เขียนแปลกใจที่ ทรู กล่าวอ้างดังกล่าว เพราะสัญญาเช่า ข้อ 2.12 ที่ยกมาข้างต้น ระบุอย่างชัดเจนว่า กสท ต้องนำคลื่นความถี่ของตนมาใช้กับเครื่องและอุปกรณ์ของทรูเท่านั้น และสัญญาขายส่งก็ทำให้ทรูได้ใช้คลื่นนั้นถึง 80%   ทั้งนี้ กสท ไม่ได้คิดมูลค่าของคลื่นความถี่ดังกล่าวแต่อย่างใด   เมื่อทรูได้คลื่นความถี่มาฟรี  หากผู้ประกอบการรายอื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประมูลคลื่นความถี่ ก็ย่อมไม่สามารถแข่งขันกับ ทรู ได้  จึงเป็นเหตุให้ กสทช ไม่สามารถกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ตั้งต้นไว้ที่ 1.3 หมื่นล้านบาทตามที่เคยกำหนดไว้ หากต้องการรักษาการแข่งขันที่เสมอภาค ซึ่งจะเป็นเหตุให้รัฐเสียรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ไปในที่สุด  

 

ทรู ยังเข้าใจผิดด้วยว่า รายได้จากการประมูลคลื่น 3G ไม่ได้เป็นรายได้เข้ารัฐ  ทั้งที่ กฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นฯ ซึ่งผู้เขียนมีส่วนในการยกร่าง กำหนดไว้ในมาตรา 45 ว่า "เงินที่ได้จากการประมูลเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน"

 

ในประเด็นที่สาม ที่ว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัมปทานที่ต้องทำตามกฎหมายร่วมทุนฯ หรือไม่นั้น  กฎหมายร่วมทุนฯ กำหนดไว้ว่า การลงทุนใน "กิจการของรัฐ" ที่มีการร่วมการงานกับเอกชน ซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 1 พันล้านบาทนั้น ต้องดำเนินการตามกฎหมายร่วมทุนฯ    ไม่น่าจะมีข้อสงสัยว่า สัญญาดังกล่าวมีการ "ร่วมการงานกับเอกชน" อย่างชัดเจน เพราะการร่วมการงานหมายความรวมถึง "ร่วมลงทุนกับเอกชนไม่ว่าโดยวิธีใด หรือมอบให้เอกชนลงทุนแต่ฝ่ายเดียว โดยวิธีการอนุญาต  หรือให้สัมปทาน หรือให้สิทธิไม่ว่าในลักษณะใด"  และมีความชัดเจนว่า โครงการดังกล่าวมีมูลค่าเกินกว่า 1 พันล้านบาท เพราะ กสท ก็ให้ข้อมูลว่า ตนจะได้ผลตอบแทนถึง 1.4 หมื่นล้านบาท   ประเด็นที่เหลืออยู่จึงมีเพียงว่า โครงการนี้เป็น  "กิจการของรัฐ" ตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น

 

มาตรา 5 ของกฎหมายร่วมทุนฯ บัญญัติไว้ว่า "กิจการของรัฐ" หมายความว่า "กิจการที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ  หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรือหลายหน่วย รวมกัน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ต้องทำตามกฎหมายหรือกิจการที่จะต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือทรัพย์สินของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ"    เป็นที่ชัดเจนว่า โครงการนี้ได้ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ดังปรากฏในสัญญาเช่า ข้อ 2.12 ข้างต้น  

 

ทรู อ้างว่า สัญญาดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบของ  "นักกฎหมายอาชีพผู้มีประสบการณ์หลายสิบคน  แต่ไม่มีใครเห็นว่าสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเหมือนสัมปทาน"   แต่เมื่อดูรายชื่อที่ทรูอ้างถึงก็พบว่า เกือบทั้งหมดเป็นนักกฎหมายหรือที่ปรึกษาของทรู หรือ กสท หรือธนาคารที่ให้กู้ในโครงการนี้ ซึ่งล้วนมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องหรือได้รับค่าตอบแทนจาก ทรู หรือ กสท ในทางใดทางหนึ่งทั้งสิ้น  ยกเว้นสำนักงานอัยการสูงสุด   ที่ผ่านมา กสท และทรู ก็อ้างมาตลอดว่า สำนักงานอัยการสูงสุดให้ความเห็นชอบสัญญานี้แล้ว 

 

ปัญหาก็คือ เราไม่เคยได้ทราบเลยว่า  สำนักงานอัยการสูงสุดวินิจฉัยด้วยเหตุผลอย่างไรจึงสรุปว่า สัญญาดังกล่าวไม่ต้องทำตามกฎหมายร่วมทุนฯ ทั้งที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติคือคลื่นความถี่ ในส่วนของสัญญา "เช่า"   ผู้ที่อ้างว่า สัญญาดังกล่าวไม่ต้องทำตามกฎหมายร่วมทุนฯ มักหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงส่วนของสัญญา "เช่า" แต่อ้างเฉพาะส่วนของสัญญา "ขายส่ง" ว่าเป็นการให้บริการที่ต้องขออนุญาตจาก กทช. จึงไม่เป็นสัญญาสัมปทาน  

 

จริงหรือไม่ที่ อธิบดีอัยการฝ่ายปรึกษา ซึ่งรับผิดชอบสัญญานี้ ยังไม่ได้ให้ความเห็น และยังไม่ได้ตรวจสัญญา เนื่องจากมีข้อสงสัยบางประการ   แต่สำนักงานอัยการสูงสุดก็ได้ทำความเห็นกลับไปยัง กสท ให้เดินหน้าโครงการต่อไปเลย?    นอกจากนี้ ในการสัมมนาที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อัยการที่ร่วมอภิปรายกับผู้เขียนก็กล่าวในทำนองที่ว่า การทำสัญญาดังกล่าวมีการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เพราะทำตรงไปตรงมาไม่ได้ เพียงแต่ท่านเห็นว่า การหลีกเลี่ยงกฎหมายไม่ใช่การฝ่าฝืนกฎหมาย

 

จึงเกิดคำถามว่า ในการตรวจสัญญาดังกล่าว สำนักงานอัยการสูงสุดได้ใช้ความรอบคอบเพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ (และประโยชน์สาธารณะ) และได้รายงานถึงข้อเสียเปรียบหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐ  ตามหน้าที่ตามมาตรา 23 ของกฎหมายองค์กรอัยการฯ  หรือไม่?  เพราะปรากฏว่า สัญญาดังกล่าวน่าจะทำให้ กสท เสียเปรียบ ทรู หลายประการ  ที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ การที่ กสท ให้ทรูใช้คลื่นความถี่ โดยไม่คิดมูลค่าดังที่กล่าวมาแล้ว   เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน  สำนักงานอัยการสูงสุดจึงควรเปิดเผยผลการตรวจสัญญาดังกล่าวในทุกขั้นตอนต่อสาธารณะ 

 

นอกจากนี้ ทรู ยังหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงข้อสังเกตของ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ว่า สัญญาดังกล่าวน่าจะเป็นสัญญาตามกฎหมายร่วมทุนฯ หรือข้อสังเกตของ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักกฎหมายจากธรรมศาสตร์ที่มีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน  

 

นอกจากน่าจะขัดกับกฎหมายร่วมทุนฯแล้ว  ยังปรากฏเป็นข่าวด้วยว่า สำนักเลขาธิการ กทช ได้ทำความเห็นเพื่อเสนอ กทช ว่า สัญญาดังกล่าวยังอาจขัดกับมาตรา 46 ของกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นฯ ที่ห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ มอบการบริหารจัดการบางส่วนหรือยินยอมให้ผู้อื่นประกอบการแทน  (กรุงเทพธุรกิจ 13 พฤษภาคม 2554)

 

หรือว่า ทรู ถนัดที่จะอ้างแต่ความเห็นของนักกฎหมายที่มีผลประโยชน์ได้เสียกับตน   ใช้สื่อของตนเสนอข้อมูลด้านเดียวต่อประชาชน และกล่าวหาผู้อื่นโดยไม่ให้โอกาสชี้แจง?   เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้เขียน และเพื่อพิสูจน์  "ข้อเท็จจริง" ของทั้งสองฝ่าย ผู้เขียนพร้อมที่จะอภิปรายร่วมกับทรูในทุกเวที  รวมทั้งรายการสดใน ทรู วิชั่นส์ด้วย   ว่าแต่ว่า ทรู จะกล้าร่วมอภิปรายกับผู้เขียนหรือไม่?  



วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กสทช.สั่งสอบ '3 จีทรู-กสท' เน้นประเด็นพรบ.ร่วมทุนฯ

ไอที-นวัตกรรม

วันที่ 13 พฤษภาคม 2554 10:25

กสทช.สั่งสอบ '3 จีทรู-กสท' เน้นประเด็นพรบ.ร่วมทุนฯ

บอร์ดมีมติให้สำนักงาน กสทช. จัดทำเอกสารสรุปสัญญา กสท-ทรู ผิดมาตรา 46 ตามพ.ร.บ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯหรืิอไม่ พร้อมวาง3ขั้นตอน

บอร์ดมีมติให้สำนักงาน กสทช. จัดทำเอกสารสรุปสัญญา กสท-ทรู ผิดมาตรา 46 ตามพ.ร.บ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯหรืิอไม่ พร้อมวาง 3 ขั้นตอน

บอร์ดมีมติให้สำนักงาน กสทช. จัดทำเอกสารสรุปสัญญา กสท-ทรู ผิดมาตรา 46 ตามพ.ร.บ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯหรืิอไม่ 

พร้อมวาง  3 ขั้นตอน

เผยต้องดูเรื่อง พ.ร.บ.ร่วมทุน เป็นหลัก หากสรุปว่าผิด ไม่ต้องดูประเด็นอื่น เผยบอร์ดไม่กล้าฟันธงสัญญา หวั่นมีผลผูกพันในอนาคต ซ้ำนักกฎหมายกทช.ไม่เคยอยู่ร่วมประชุม

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวานนี้ (12 พ.ค.) มีมติให้สำนักงาน กทช.ไปสรุปรายละเอียดในสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือเอชเอสพีเอระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ว่าขัดต่อมาตรา 46 ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่ระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัวต้องประกอบกิจการด้วยตัวเอง จะโอนหรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนไม่ได้

หากสำนักงาน กทช. มีข้อสรุปออกมาว่า ไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว ก็จะมาพิจารณาในขั้นที่ 2 คือ การให้บริการของบริษัท เรียลมูฟ ที่ได้รับสิทธิในการทำตลาดบริการขายส่งบริการ (โฮลเซล-รีเทล) เรียลมูฟถือเป็นเอ็มวีเอ็นโอให้ กสท ในระดับใด เพราะที่ประชุมบอร์ด มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาหารือ โดยระบุว่าหากเป็นเอ็มวีเอ็นโอระบบต่ำ (Thin MVNO) ก็สามารถดำเนินการได้ แต่หากเป็นระบบกลาง (Medium MVNO) หรือระบบสูง (Full MVNO) อาจต้องมีการตีความจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า ดำเนินการได้หรือไม่ และหากสมมติว่าการ

กรณีสัญญา กสท และ กลุ่มทรู ที่ถกเถียงว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ในเบื้องต้นต้องพิจารณาในแง่ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หากศาลปกครอง หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ป.ป.ช.) มีคำสั่งหรือลงความเห็นว่าสัญญาฉบับดังกล่าวจำเป็นต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน ก็ถือว่าผิดแล้วไม่จำเป็นต้องดูในประเด็นอื่น

"การประชุมวันนี้ ก็เถียงกันพอสมควร ว่าจะเอาอย่างไรกับสัญญา กสท และทรู ซึ่ง กทช.ไม่ได้นิ่งนอนใจ เรามีความเห็นอะไรออกมาบ้าง แต่ก็ต้องดูในประเด็นกฎหมายอื่นๆ ควบคู่กันไป ซึ่งกรณีนี้ประเด็นที่สำคัญที่พิจารณามีเพียงว่า สัญญาดังกล่าวเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน หรือไม่ แต่ในส่วนนี้เราไม่ได้มีสิทธิออกความเห็น"

แหล่งข่าวจาก กทช. กล่าวว่า แม้ที่ประชุมบอร์ดวานนี้ จะมีบรรจุวาระเรื่องการทำสัญญาให้บริการโทรศัพท์มือถือเอชเอสพีเอ ระหว่าง กสท และกลุ่มทรู แต่เรื่องดังกล่าว ยังไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เนื่องจากบอร์ด กทช.รอดูท่าทีของศาลปกครองกลางก่อน ว่า ในวันที่ 18 พ.ค. นี้ คำสั่งของศาลฯ จะออกมาในลักษณะใด จะมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน หรือกำหนดการบรรเทาทุกข์ให้กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หรือไม่ หลังจากที่ดีแทคได้ยื่นฟ้อง กสท และพวก ในกรณีการเซ็นสัญญากับกลุ่มทรูไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในคดีหมายเลขดำที่ 871/2554

อย่างไรก็ตาม พ.อ.นที ย้ำว่า กทช. ไม่ต้องการมีบทบาท หรือมีมติทางกฎหมายใดๆ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เพราะจะถือเป็นผลผูกพัน และในอนาคตก็จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ กสทช. อย่างเต็มรูปแบบ และปัจจัยที่สำคัญ คือ ประเด็นที่มีหยิบยกในกรณีสัญญา กสท กับกลุ่มทรู ว่าอาจขัดต่อกฎหมาย ล้วนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.กสทช. แต่เป็นประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ร่วมทุน นอกจากนี้ กทช.ก็ไม่เคยได้รับการติดต่อจากหน่วยงานที่ตรวจสอบสัญญา เพื่อประสานให้ กทช. ไปให้ข้อมูลเลย

"สำนักงาน กทช. ก็ได้หารือและรวบรวมรายละเอียดสัญญาทั้ง 6 ฉบับของ กสท และ ทรู มาตลอด แต่ก็ยังไม่เสร็จ หรือจริงๆ อาจจะเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเรื่องนี้ไม่มีบอร์ดคนใดอยากจะฟันธงว่าสัญญาผิดหรือถูก และนายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ กทช. ที่รับผิดชอบด้านกฎหมายโดยตรงก็ไม่อยู่ไปต่างประเทศ"

http://goo.gl/iw4N2